กองหินประหลาดสโตนเฮจน์

 

 

 

             กองหินประหลาดสโตนเฮจน์มีอายุประมาณปลายยุคหินถึงต้นยุคบรอนซ์ ตั้งอยู่บริเวณที่ราบซาลิสเบอรี่ ด้านเหนือของเมืองซาลิสเบอรี ในมณฑลวิลไซร์ซึ่งห่างจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไปประมาณ 10 ไมล์ ปรากฏการณ์ที่กองหินทั้งหลายมารวมกันอยู่ ณ ที่แห่งนี้นั้น ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้นำมาวาง และนำมาวางไว้เพื่อจุดประสงค์ใด นักวิทยาศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่าน่าจะมีผู้สร้างกองหินนี้ขึ้นมาเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของมนุษย์ยุคนั้น

 

             กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์ประกอบไปด้วยก้อนหินทรงสูงขนาดใหญ่จำนวน 112 ก้อนวางไว้ในแนวตั้งเรียงต่อกันเป็นรูปวงกลมซ้อนกัน 3 วง หินบางก้อนมีลักษณะการวางแบบล้มนอน บางก้อนวางในแนวตั้ง และบางก้อนก็วางทับซ้อนอยู่บนยอด วงกลมรอบนอกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100 ฟุต และมีน้ำหนักหลายตัน กองหินนี้มีหินวางรวมไว้ทั้ง 30 ก้อน หินแต่ละก้อนมีความสูงประมาณ 13 ฟุต วงกลมรอบกลางมีเส้นผ่านศูนย์กลาง76 ฟุต มีหินทั้งหมด 40 ก้อน และมีอยู่ 2 ก้อนที่ตั้งสูงถึง 22 ฟุต สำหรับวงในสุดนั้นสีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50 ฟุต มีหินอยู่ทั้งหมด 42 ก้อน หินแต่ละก้อนที่อยู่ในกองหินสโตนเฮนจ์มีน้ำหนักหลายตัน ชนพื้นเมืองเล่าว่าพบกองหินนี้มาตั้งแต่ครั้งคริสตกาล รวมแล้วน่าจะมีอายุประมาณ 1,700 ปี

 

             เรื่องแปลกก็คือบริเวณที่ราบซาลิสเบอรีที่เกิดกองหินประหลาดนี้เป็นสถานที่ที่มีลักษณะเป็นทุ่งโล่ง ไม่มีภูเขา และที่สำคัญคือบริเวณใกล้เคียงกับกองหินไม่ปรากฏว่ามีก้อนหินอยู่เลย อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2507 เจอรัลด์ เอส เฮากินส์ นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันได้ตั้งข้อสันนิษฐานว่ากองหินสโตนเฮนจ์ จัดเป็นสถานที่สำหรับทำนายตำแหน่งของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ที่สัมพันธ์กับการเกิดฤดูกาลบนพื้นโลก หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นมาอย่างหยาบๆในสมัยนั้นนั่นเอง

 

นายนิวัติ นุชกิจ 5101046

Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...